7 Tips for Buying Fresh Seafood

การเลือกซื้ออาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นปลา กุ้ง ปู หอย ปลาหมึก ฯลฯ จะต้องใช้ความพิถีพิถันใน การเลือกซื้อปลา การเลือกซื้อกุ้ง การเลือกซื้อหอย การเลือกซื้อปู เพราะการประกอบอาหาร หากใช้วัตถุดิบที่ไม่สดใหม่ อาจจะทำให้ปรุงอาหารออกมาไม่ได้คุณภาพ และ อร่อยถูกปากเท่าที่ควร วันนี้ Kimin จึงจะมาบอกต่อ 7 เคล็ดลับ วิธีการเลือกซื้อปลา และ อาหารทะเลสดอื่น ๆ ที่บอกเลยว่า “ดีที่สด” อย่างแน่นอน

1. การเลือกซื้อปลา

ปลามีเกล็ด

ปลามีเกล็ดที่เรามักนำมาประกอบอาหาร ได้แก่ ปลากะพง ปลาทับทิม ปลานิล และ ปลาช่อน ดังนั้นการเลือกปลาเหล่านี้ การดูที่เกล็ดกูเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ไม่ควรมองข้าม

  • การเลือกปลากะพงอย่างแรกให้ดูสีของปลาและเกล็ด ผิวจะต้องใส สีเงิน สีปลาไม่คล้ำ เกล็ดและหนังปลาไม่ขุ่น แต่มันเงา
  • เกล็ดปลาจะต้องเรียงกันเป็นระเบียบ
  • เนื้อจะต้องแน่น กดแล้วเด้ง ไม่ยุบ
  • เหงือกจะต้องมีสีสด ไม่ซีด
  • ตาของปลากะพงจะต้องมีใส ไม่ขุ่นมัว หรือ ตามีสีเหลือง
  • เมื่อดมที่ตัวปลา ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือ กลิ่นฉุนของดิน
  • หางและ ครีบต้องดูแข็งแรงและชุ่มชื่น ไม่แห้งหรือขาด

ปลาไม่มีเกล็ด

ปลาไม่มีเกล็ด ผิวหนังจะมีลักษณะลื่น ๆ และมีหนวด ปลาประเภทนี้ที่เรานิยมใช้ในการประกอบอาหาร ได้แก่ ปลาคัง ปลาดุก ปลาสำลี ปลาจาระเม็ด และ ปลาไหล

  • ผิวหนังของปลามีสีสด และ ไม่ขุ่น 
  • ตาปลาจะต้องกลม ใส ไม่ขุ่นหรือเป็นสีเหลือง ที่สำคัญตาจะต้องไม่หลุดออกจากเบ้า
  • เนื้อปลาแน่น ไม่เละ กดแล้วเด้งทันที ลำตัวอวบอ้วน
  • เหงือกปลามีสีแดงสด ยังมีความฉ่ำ ไม่มีสีเขียวคล้ำ

ปลาแซลมอน

ปลาแซลมอน เนื้อปลาสีส้มสด หลายคนชอบทานทั้งแบบดิบ หรือ นำไปประกอบอาหาร เช่นนำไปย่าง ปลาแซลมอนที่มีคุณภาพสูง มักจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการเลือกปลาแซลมอนจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

  • เนื้อปลาแซลมอนจะต้องมีสีส้ม อมแดง หรือ ส้มสด ไม่ดูส้มแบบช้ำ ๆ
  • มีไขมันเป็นลายชัดเจน เนื้อจะต้องดูฉ่ำ ไม่เละ
  • สำหรับเนื้อปลาแซลมอนที่บรรจุอยู่ในสุญญากาศ จะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่แช่แข็งอย่างน้อย -20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 7 วัน หรือ -35 องศาเซลเซียสอย่างน้อย 2 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

2. การเลือกซื้อกุ้ง

กุ้ง เป็นอาหารทะเลที่สามารถนำมารังสรรเมนูได้หลากหลาย ทั้งอาหารไทย อาหารนานาชาติ กุ้งนั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็กจิ๋ว ยันใหญ่มหึมา อย่างเช่น กุ้งล็อบสเตอร์ และ กุ้งมังกร แต่กุ้งที่เราจะมาแนะนำการเลือกในวันนี้เป็นกุ้งขนาดเล็กไปจนถึงกลาง เช่น กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย กุ้งเสือ กุ้งแม่น้ำ เป็นต้น

  • หัวและลำตัวของกุ้งจะต้องติดแน่น ไม่หลุดออกจากกัน และไม่เป็นสีดำ
  • ตาของกุ้งจะต้องใส ไม่ขุ่น
  • เปลือกของกุ้งจะต้องใส เห็นถึงตัวกุ้ง ไม่ขุ่นมัวหรือมีสีแดง
  • เนื้อของกุ้งจะต้องแน่นและเด้ง
  • หางกุ้งจะต้องไม่แห้ง ยังคงความชุ่มชื่น ที่สำคัญไม่เป้นสีแดง

3. การเลือกซื้อกั้ง

กั้ง เหมือนกุ้งกับปูผสมกัน ใครจะไปรู้ว่าเนื้อกั้งฟินกว่ากุ้งอีก เพราะเนื้อแน่นกว่ากุ้ง แต่มีเปลือกที่แข็งคล้ายปู แต่ไม่แข็งเท่า การเลือกกั้งจึงต้องดูทั้งเปลือก ลำตัว และหาง

  • การเลือกกั้งสด ๆ จะต้องดูที่สีของมัน สีลำตัวและครีบจะใส ช่วงท้องไม่มีสีดำ ตัวสะอาด ไม่สกปรก
  • เหงือกของกั้งจะไม่มีสีเขียวคล้ำ 
  • หางของกั้งยังไม่หลุดออกจากตัวกั้ง และ ไม่ฉีกขาด
  • เมื่อกดตรงท้องของกั้ง เนื้อจะแน่น ๆ 

4. การเลือกซื้อหอย

หอยมีหลากหลายชนิด ตั้งแต่หอยขนาดใหญ่ เช่น หอยนางรม และ หอยแมลงภู่ ไปจนถึงหอยขนากเล็ก เช่น หอยตลับ หอยลาย หอยแครง หอยหวาน หอยหลอด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีเปลือกที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการเลือกหอยจะต้องสังเกตที่เปลือก ถึงจะรู้ว่าสดหรือไม่

  • หอยที่สดจะต้องเปลือกปิดแน่น หากทิ้งไว้ปากของหอยจะอ้าออก แต่ถ้าเอามือไปสัมผัสเปลือกจะปิดทันที
  • เปลือกไม่มีมีเมือกมากจนเกินไป
  • เมื่อแกะเปลือกหอยออกมาจะไม่มีสิ่งสกปรก หรือ โคลนออกมา
  • หากแกะหอยออกจากเปลือก เนื้อของหอยจะมีสีสด และ มีเยื่อบาง ๆ อยู่ที่ตัวหอย
  • หากนำไปลอยน้ำ หอที่สดจะจมน้ำ หากไม่สดหอยจะลอยน้ำ

5. การเลือกซื้อปลาหมึก

ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีเปลือก ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีหนวดยาวสุด ๆ นิยมนำมาทำยำและย่างทาน จิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือ จะนำมาผัดก็ได้ ปลาหมึกที่เรานิยมนำมาประกอบอาหาร ได้แก่ หมึกกล้วย หมึกกระดอง 

  • ปลาหมึกจะต้องมีเนื้อแน่นไม่เละ
  • สีของหมึกจะไม่มีสีออกแดง แต่จะเป็นสีใส และไม่ขาวจนเกินไป
  • หัวของปลาหมึกจะไม่ยืดของจากตัวมากจนเกินไป
  • ไม่มีกลิ่นฉุนของฟอร์มาลีน เพราะ นั่นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากทานในปริมาณมาก
  • เมื่อลอกหนังของปลาหมึก เยื่อจะออกมาติดกันหมด

6. การเลือกซื้อปู

ปู เป็นอาหารทะเลที่มีกระดองแข็ง ต้องใช้ความพยายามในการรับประทานมากที่สุด เพราะเปลือกของมันแข็งใช่ย่อยเลย หากแกะไม่ดีอาจโดนบาดนิ้วได้ นิยมนำมานึ่งทานกับน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือ ผัด เช่น ปูผัดผงกระหรี่ หากต้องการทานเนื้อของปูให้เลือกซื้อปูม้าตัวผู้ แต่หากแยากทานไข่ปู ให้เลือกตัวเมีย

ปูเนื้อ

  • ปูที่มีเนื้อแน่นสด จะต้องดูที่น้ำหนักตัวของปู ไม่เบาจนเกินไป
  • ให้สังเกตที่ตะปิ้งปูดี ๆ จะมีความเรียวและเป็นสามเหลี่ยมแหลม
  • ให้ลองกดที่ตะปิ้งของปูเนื้อ ตะปิ้งจะแน่น กดแล้วไม่ยุบหรือกลวง ๆ
  • ให้เลือกปูเนื้อที่มีกระดองแข็ง หากมีกระดองนิ่ม อาจหมายความว่าเป็นปูที่เพิ่งลอกคราบ เนื้อจะไม่แน่น เวลาเอาไปนึ่งจะคายน้ำออกมาเยอะนั่นเอง

ปูไข่ 

  • ให้สังเกตที่น้ำหนัก จะต้องไปเบา แต่มีน้ำหนัก
  • ตะปิ้งของปูไข่จะมีสีเข้ม และค่อนข้างนูนกว่าตะปิ้งของปูเนื้อ เมื่อกดตะปิ้งจะแน่น ไม่ยุบ
  • ให้ลองเคาะกระดองปู จะรู้สึกแน่น ๆ ไม่กลวง หากกลวงนั่นหมายความว่าปูมีไข่น้อย
  • สีของปูไข่จะออกเทา อมน้ำตาล ไม่ควรเลือกซื้อปูไข่ที่มีปลายขาเป็นสีฟ้า
  • ห้ามซื้อปูไข่ที่มีไข่ออกมานอกกระดอง เพรานั่นเป็นไข่ที่พร้อมเพาะพันธุ์ให้เป็นลูกปูแล้ว ไข่จะไม่อร่อย แถมเนื้อก็ไม่อร่อยอีกด้วย

อ้างอิง: